บันทึกบทความเกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
บทความเรื่องที่ 1
สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก ?
ถ้าพูดถึงคำว่า “ คณิตศาสตร์ ” สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยากในความคิดของเด็ก แต่เราสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่เครียดไปกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ได้โดยหาวิธีที่ง่ายและเหมาะสมตามวัย พัฒนาการของเด็กดังเช่นเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการเล่น และได้สัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อให้เด็กเกิดการจดจำที่ยาวนาน ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดหาวิธีในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้สื่อทั้งที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลองที่หลากหลาย บางครั้งใช้สื่อในห้องเรียนที่มีอยู่ตามมุมประสบการณ์เช่น ไม้บล็อก ลูกบอล ตัวต่อ ฯลฯและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องของการจำแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การนับจำนวน รูปร่างรูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่มซึ่งเด็กได้เรียนรู้ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่นในการจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่องไม้ดอกไม้ประดับ และต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องการจำแนกสิ่งต่างๆเราสามารถจัดเด็กเป็นกลุ่มย่อยและนำสื่อของจริงเช่นดอกไม้ชนิดต่างๆที่มีสีต่างๆมาให้เด็กสังเกตและจำแนกดอกไม้ตามชนิด สี กลิ่นของดอกไม้ นอกจากนี้เด็กสามารถเปรียบเทียบจำนวนของดอกไม้ที่จำแนกได้อีก และเปิดโอกาสให้เด็กแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของกลุ่มของตนเองโดยวิธีการวาดภาพหรือการเล่าให้ครูและเพื่อนๆฟัง โดยครูให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติกิจกรรมโดยการชมเชยหรือให้เพื่อนๆปรบมือให้กำลังใจ ผู้เขียนคิดว่าวิธีการจัดประสบการณ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
บทความเรื่องที่ 2
สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย
โดยทั่วไปแล้ว เด็กปฐมวัย มักได้รับแรงดึงดูดจากรายการโทรทัศน์ที่สอดแทรกภาพสีสดใส ตัวละครที่เคลื่อนไหว เคลื่อนอิริยาบถไปมา รวมถึงเสียงเพลงหรือดนตรีประกอบที่ร่าความสดใจ สื่อของเล่นจึงมักได้รับอิทธิผลจากรายการโทรทัศน์ที่มีการดัดแปลงเอาตัวการ์ตูนดังๆมาเป็นสื่อของเล่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เกิดความทันสมัย แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงการสร้างสรรค์จินตนาการโดยเหมาะสมแก่เด็ก หรือมีการกำหนดสาระเนื้อหาของสื่อ ที่เป็นเกมต่างๆ โดยสอดแทรก ความรุนแรง การต่อสู้ ซึ่งอาจบ่มฟัก ความก้าวร้าวหรือแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กได้
เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจแก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ในลักษณะและประเภทของสื่อ และเครื่องเล่นที่มีคุณภาพเหมาะสมของเด็กปฐมวัย ที่จัดหมวดหมู่ได้ดังนี้
- สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ บล็อก รถ เครื่องบิน เครื่องปีนป่าย จักรยาน รถสามล้อเล็ก และอุป กรณ์งานไม้
- สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ ดินน้ำมัน อุปกรณ์วาดรูป ระบายสีน้ำ เช่นพิมพ์ภาพ หยดสี สลัดสี เป่าสี เล่นกับสีเมจิก สีชอล์ค ร้อยเชือก ตัวต่อเลโก้ บล็อกชุดเล็ก เกมต่อภาพ
- สื่อและเครื่องเล่นพัฒนาภาษาและการสื่อสาร ได้แก่ หนังสือนิทาน กระดาษและเครื่องเขียน กระดานไว้ท์บอร์ด แป้นพิมพ์ กระบะทราย หุ่นและตุ๊กตา
- สื่อและเครื่องเล่นพัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ อุปกรณ์เล่นน้ำ อุปกรณ์เล่นทราย อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องชั่ง ตวง วัด จุดบีบหยดยา กรงสัตว์ ตู้ปลา วัสดุธรรมชาติ เช่นใบไม้ รังนก ขนนก เปลือกไม้
- สื่อและเครื่องเล่นสมัยใหม่ ผลผลิตของเทคโนโลยีจำนวนหนึ่ง เป็นเครื่องมือทางการสื่อสารที่คืบคลานเข้ามาสู่สัง คมมนุษย์อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เด็กปฐมวัยต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ ซึ่งสร้างความสะดวกสบาย และกลาย เป็นปัจจัยหลักของการใช้ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน สร้างความบันเทิงแก่สมาชิกครอบครัว และช่วยให้การจัดการเรียนรู้มีความท้าทายยิ่งขึ้น พ่อแม่ และครูผู้สอน จึงต้องเรียนรู้ร่วมไปกับยุคสมัยและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น หันมาให้ความสำคัญและเลือกใช้ประโยชน์จากสื่อสมัยใหม่ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น เปลี่ยนจากการใช้สั่งพิมพ์เป็นสื่อเป็น e-book ซีดี และซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เพราะสิ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็กในโลกปัจจุบัน
เด็กในสังคมสมัยใหม่ มีโอกาสใช้สื่อไอ.ที. เพิ่มขึ้น เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอเป็นเวลาวันละหลายชั่วโมงต่อวัน ทั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แทบเล็ต ด้วยเหตุที่สื่อสมัยใหม่เหล่านี้ สามารถจับต้องได้ ตอบสนอง โต้ตอบ และเลือกได้ อีกทั้งหน้าจอที่เป็นแบบมัลติทัชหรือทัชสกรีน ยังมีความไวสูง การตอบสนองทันต่อความต้องการของเด็ก ท้าทายความสนใจและใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ หากผู้ใหญ่ให้การชี้แนะที่เหมาะสม ย่อมเกิดประโยชน์ แต่ในทางตรงข้ามหากปล่อยไปโดยอิสระ ย่อมเกิดความเสียหาย และขัดขวางการพัฒนาเด็กได้เช่นกัน
บทความเรื่องที่ 3
การเลือกของเล่นเด็ก เสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย และผลต่อพัฒนาการที่จะตามมา ในขณะที่ผู้ผลิตของเล่นต่างแข่งขันผลิตออกมาขายจำนวนมาก บางครั้งผู้บริโภคไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้แต่คำอธิบายจากตัวสินค้าก็ไม่ละเอียดพอที่จะเข้าใจ ทำให้บางคนซื้อของเล่น ให้ลูกเพราะคิดว่ามันน่าจะดีเท่านั้นรศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายว่า ช่วงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆ ด้านของมนุษย์ ทั้งนี้ การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสมรศ.ดร.จิตตินันท์ บอกว่า เด็กปฐมวัยจะมีความสุขสนุกสนานกับการเล่นในชีวิตประจำวันตามความสนใจ
และความพอใจของตนเอง ขณะที่เล่นนั้นเด็กได้ใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการสำรวจคุณสมบัติของสิ่งที่เล่น ไม่ว่าจะเป็นคนที่เล่นด้วยหรือวัตถุสิ่งของหรือของเล่น พร้อม ๆ ไปกับการรับรู้สิ่งที่เล่นผ่านอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการทำงานของสมองในการจดจำเป็นข้อมูลความคิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้น
“เด็กจะค่อยๆซึมซับและเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านปฏิสัมพันธ์กับคนเล่นหรือของเล่น โดยเฉพาะเมื่อเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองและมีผู้คอยชี้แนะให้ข้อมูลหรือสอนให้รู้จักคำบอกของชื่อเรียกสิ่งต่างๆรอบตัว หรือความหมายของสิ่งเหล่านั้นทีละเล็กละน้อย จากเรื่องที่ง่ายๆไปสู่เรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น ตามความสามารถของวัย”
การเลือกของเล่นที่ดีเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตามศักยภาพของเด็ก จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากของเล่นเป็นสื่อกลางช่วยเปิดโลกภายในของเด็กออกสู่ภายนอก ทำให้เด็กได้ค้นพบความสามารถหรือความถนัดของตนเองด้วยตนเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น ทว่าการเล่นของเล่นจะปราศจากความหมาย หากเด็กไม่ได้รับความสนใจเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดในการดูแลเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนการชี้แนะหรือเล่นร่วมกับเด็กเมื่อเด็กต้องการ
บทความเรื่องที่ 4
คอมพิวเตอร์ : สื่อที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเด็กปฐมวัย
ข้อควรคำนึงในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์
ถ้าเด็กเล่นคอมพิวเตอร์ด้วยความรู้สึกสบายใจ มีความเชื่อมั่น และสนุกกับการเล่นแล้ว เด็กจะพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการมี ผู้ใหญ่คอยดูแล สนับสนุน ให้กำลังใจ และรู้จักเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมให้เด็ก
นอกจากนี้ การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ควรให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นกิจกรรมได้อย่างเสรี โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นมุมหนึ่งของห้องเรียนเช่นเดียวกับมุมไม้บล็อก มุมหนังสือ มุมศิลปะ มุมบ้าน มุมบทบาทสมมติ ฯลฯ จะเอื้อประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ได้ดีกว่าการจัดให้เด็กแยกไปเรียนต่างหาก การจัดมุมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาการทางสังคม เพราะเด็กอาจจะนั่งหน้าจอด้วยกัน พูดคุย ช่วยกันแก้ปัญหา ร่วมกันตัดสินใจ ลองผิดลองถูก อีกทั้งเป็นการพัฒนาสติปัญญาและภาษาได้อย่างดี
การพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ และจิตใจ
จากการวิจัยพบว่า เด็กอายุ 4 ขวบ สามารถช่วยอธิบายวิธีการแก้ปัญหาให้เพื่อนได้ และสามารถสาธิตให้เพื่อนดูได้ถูกต้อง และจากการสังเกตพบว่า เด็กได้เลียนแบบวิธีการสอนของครูมาช่วยเหลือเพื่อน ดังนั้นครูควรต้องระวังบทบาทขณะสอนเด็กๆ ให้เหมาะสมด้วย
คอมพิวเตอร์จะช่วยพัฒนาเด็กได้มากในเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสารและการเรียนรู้ การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นครูอาจช่วยกระตุ้นการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้เด็กนั่งเป็นคู่หน้าเครื่อง และชักจูงให้ช่วยกันคิดในการทำงาน โดยไม่ใช่แข่งขันกัน
การพัฒนาด้านทักษะภาษา
ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการฝึกการท่องจำสำหรับเด็กปฐมวัย จะช่วยเตรียมทักษะการอ่าน เพราะทำให้เด็กจำแนกตัวอักษร จำตัวอักษร และเรียกได้ถูกต้อง ทำให้รู้คำศัพท์มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โปรแกรมสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นได้มีการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่ควรให้เด็กได้รับการฝึกแต่ความจำเท่านั้น ผู้ใหญ่ควรเลือกโปรแกรมที่ใช้การสื่อสารสองทางได้ คือ คอมพิวเตอร์พูดได้ สามารถตอบสนองเด็กได้ ร้องเพลงได้ จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น
การพัฒนาด้านคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหา
เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับการจำแนกแยกแยะสี รูปทรง ตัวเลข ตลอดจนรู้จักการเรียงลำดับ มิติสัมพันธ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกระตุ้นได้ดี
โปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ไม่ใช่เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับความจำที่เน้นถูก–ผิด เป็นหลักเท่านั้น แต่ควรเป็นโปรแกรมที่ท้าทายในการแก้ปัญหา โดยให้เด็กสามารถสร้างทางเลือก ตัดสินใจ ที่จะหาวิธีในการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นการพัฒนาความคิด บทบาทของครูสำหรับเด็ก คือ ครูจะต้องกระตือรือร้นที่จะสนุบสนุนป้อนคำถาม กระตุ้น และสาธิตให้เด็กเกิดความคิด
ข้อควรคำนึงในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับเด็กปฐมวัย
1) โปรแกรมจะต้องเหมาะสมสำหรับเด็ก การนำโปรแกรมที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมาใช้กับเด็ก เพื่อให้เป็นเด็กอัศจรรย์ (Super Kid) เป็นการสร้างควากดดันให้กับเด็กมากกว่าจะเป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
2) ควบคุมเวลาในการใช้ เพราะเด็กอาจจะเพลิดเพลิน และถ้าเด็กอยู่ใกล้เกินไปจะเสียสายตา จนถึงขั้นตาเสื่อมได้
3) ควรเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ การเล่นคอมพิวเตอร์ ควรใช้จอของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงจะดีกว่าการเล่นกับจอทีวี เพราะจอคอมพิวเตอร์เป็นจอที่ละเอียดกว่า และมีการกรองแสงด้วย ซึ่งช่วยถนอมสายตาเด็กได้
4) ควรสอนเด็กให้รู้จักวิธีการเปิด–ปิดเครื่องและวิธีการใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย และรู้จักการถนอมเครื่องด้วย
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่จะนำมาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ประเด็นสำคัญอยู่ที่คุณครู คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ต้องมีบทบาทสำคัญในการพิจารณาอย่างรอบคอบ มีความพร้อมทั้งในแง่ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการสอน และผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก และควรตระหนักว่า คอมพิวเตอร์เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ไม่ใช่เร่งรัดให้เด็กประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจนเกินวัย และไม่ควรนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพียงเพื่อเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพราะจะทำให้เด็กในวัยเรียนสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
บทความเรื่องที่ 5
สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
พัฒนาเด็กได้มากกว่าที่คิด
พัฒนาเด็กได้มากกว่าที่คิด
เพียงแค่ธรรมชาติที่อยู่รอบๆบ้านเรา
ก็มีสิ่งยั่วยวนใจให้เด็กได้เรียนรู้มากเหลือเกิน
ใบไม้ใบหญ้าที่แกว่งไกวหรือหลุดปลิวไปเพราะแรงลม
การสร้างบ้านที่อยู่อาศัยของมด กลุ่มชีวิตที่อยู่ใต้พื้นดิน
สำหรับเด็กๆ แล้ว สนามธรรมชาติรอบล้อมบ้าน
เป็นโลกแห่งกิจกรรม เป็นบทเรียนวิทยาศาสตร์
บทเรียนวิชาฟิสิกส์ และวิชาธรรมชาติและสีสัน
(Hirsh-Pasek and Golinkoff, 2003)
ก็มีสิ่งยั่วยวนใจให้เด็กได้เรียนรู้มากเหลือเกิน
ใบไม้ใบหญ้าที่แกว่งไกวหรือหลุดปลิวไปเพราะแรงลม
การสร้างบ้านที่อยู่อาศัยของมด กลุ่มชีวิตที่อยู่ใต้พื้นดิน
สำหรับเด็กๆ แล้ว สนามธรรมชาติรอบล้อมบ้าน
เป็นโลกแห่งกิจกรรม เป็นบทเรียนวิทยาศาสตร์
บทเรียนวิชาฟิสิกส์ และวิชาธรรมชาติและสีสัน
(Hirsh-Pasek and Golinkoff, 2003)
ในตอนวัยเด็ก นอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียน และช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ แล้ว พวกเราเด็กๆ ก็มักจะมีเวลาว่างมากเพียงพอที่จะสำรวจธรรมชาติที่อยู่รอบๆ บ้าน หรือบริเวณหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ ทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่าหญ้าคา และ อื่นๆ เราสนุกสนานกับการที่ได้ปีนป่ายต้นไม้ใหญ่ นั่งเล่นอยู่บนต้นไม้นั้นเป็นเวลานานๆ ได้เห็นความเป็นอยู่ของเหล่านกใหญ่น้อยทั้งหลาย ที่อาศัยกิ่งก้านสาขาของไม้ใหญ่นี้เป็นที่กำบังจากภัยต่างๆ บ้างก็สร้างรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่นี้ หลายครั้งที่พวกเราก็แกล้งมัน พอพวกเราส่งเสียงดัง หรือขว้างปาวัตถุเข้าไปใส่ต้นไม้ ฝูงนกก็แตกฮือบินหนีไปคนละทิศคนละทางด้วยความตกใจ แต่พวกเรากลับหัวเราะอย่างสนุกสนาน บางครั้งเราก็ปีนต้นไม้เพื่อที่จะไปให้ถึงรังของนก เราอยากจะเห็นบ้านที่อยู่ของนก อยากจะเห็นไข่ หรือลูกเล็กๆ ของมัน ในขณะที่เราใกล้จะถึง เราจะได้ยินเสียงพ่อ แม่ของลูกนกส่งเสียงร้องอย่างดัง ราวกับจะบอกให้เรารู้ว่า อย่าเข้าใกล้หรือทำอันตรายสิ่งที่เขารักและห่วงแหนมากที่สุด